นโยบายการบริหาร
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
SKT1 HAPPY Model
รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 SKT1 HAPPY Model เป็นรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเป็นการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1. ปัจจัยนำเข้า SKT1 (Input) คือ
S (support team): ทีมสนับสนุน เป็นทีมสนับสนุน ส่งเสริมและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งประกอบด้วย
S1 หมายถึง ผู้บริหารการศึกษา ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1, รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 และผู้อำนวยการลุ่มทุกกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
S2 หมายถึง คณะกรรมการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา (ก.ต.ป.น.) และ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ)
S3 หมายถึง คณะศึกษานิเทศก์ โดยศึกษานิเทศก์ต้องมีหน้าที่ในการประสานงาน เชื่อมต่อระหว่าง ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการต่าง ๆ ร่วมทั้งประธานศูนย์ต่าง ๆ ในการดำเนินงานตามรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบาย
S4 หมายถึง ประธานศูนย์ประถมศึกษาอำเภอ, ประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน
K (Knowledge Management) การจัดการความรู้ หรือ KM เป็นการรวบรวมองค์ความรู้มาพัฒนาให้เป็นระบบ สามารถเข้าถึงความรู้ได้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือหรือแนวทางที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น Web-based seminar (Webinars) คลังสื่อ คลังความรู้ เป็นต้น
T (Technology and Innovation) เป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนในเรื่องของการทำงาน
1 (One Target) เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนเป็นเอกภาพ โดยมีจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ กายภาพที่ดี สู่คุณภาพที่ดีขึ้น เป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดนำไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
2.กระบวนการดำเนินงาน HAPPY (Process) เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยกำหนดกระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย
H (Heart): ร่วมใจคิดพาทำ
A (Activities): ปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลาย
P (Participation): ประสานเครือข่ายร่วมพัฒนา
P (Professional Learning Community): นำพาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
Y (Yell): เชิดชูความสำเร็จ หรือ รางวัลที่จะมอบให้บุคคลในการยกย่องเชิดชูเกียรติ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 จะมีเป้าหมายเดียวที่เป็นจุดเน้นคือ กายภาพที่ดี สู่คุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งจะมาจาก องค์กรแห่งความสุข
3. ผลผลิต (Output) ผลผลิตของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 แบ่งออกเป็น 2 ด้านประกอบด้วย (1) ด้านกายภาพ และ (2) ด้านคุณภาพ ซึ่งแต่ละด้านมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ด้านกายภาพจะประกอบด้วย กายภาพภายนอก หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา อาทิ ถนนหนทาง สระน้ำ แหล่งเรียนรู้ ฯลฯ โดยภาพรวมคือ กายภาพพื้นฐานของสถานที่ ต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย กายภาพภายใน หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเรียนรู้ต่าง ๆ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ห้องกิจกรรมเรียนรู้ ห้องสื่อการเรียนรู้ทางไกล ฯลฯ ซึ่งเป็นสถานที่ในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ทั้งนี้ กายภาย ทั้งสองด้านต้องมีความพร้อมเพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานของครู บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน
ด้านคุณภาพ ประกอบด้วย (1) คุณภาพของผู้เรียน (2) คุณภาพครูและบุคลากร (3) คุณภาพของผู้บริหาร (4) คุณภาพสถานศึกษา และ (5) คุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้ คุณภาพทั้ง 5 ด้าน เป็นสิ่งที่โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาทำมาเป็นประจำทุกปี
โดยผลลัพธ์ที่ได้ คือ องค์กรแห่งความสุข หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 พร้อมด้วยสถานศึกษาในสังกัดต้องเป็นองค์กรแห่งความสุข ด้านกายภาพที่ดีมีความสะอาดร่มรื่นปลอดภัย และคุณภาพที่ดีขึ้น ทั้งคุณภาพชีวิต ขวัญกำลังใจ ทำงานด้วยใจ มีทักษะในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน จนก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ของระบบการจัดการและพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมและยั่งยืน
ข้อมูล : นโยบายการบริหาร
เผยแพร่โดย : administrator View : 315717